วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

สินค้าสัตว์น้ำไทยในออสเตรเลีย ยังไปได้สวย...^^


 กุ้งสด,แช่แข็ง

"ออสเตรเลียเป็นช่องทางส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของไทยโดยเฉพาะ สินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ มีโอกาสสูงมากที่จะเข้าไปตีตลาดในออสเตรเลีย ซึ่งอนาคตมีแนวโน้มค่อนข้างสดใส ถึงแม้ออสเตรเลียจะมีกฎระเบียบ เงื่อนไขและมาตรการควบคุมการนำเข้าอย่างเข้มงวด จากกระบวน การผลิตสินค้ากุ้งไทยที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัยทางด้านอาหาร (Food Safety) เชื่อว่ากุ้งไทยจะได้รับการยอมรับและสามารถเข้าไปโลดแล่นในตลาดออสเตรเลียได้อย่างสง่างาม นางสาวเมทนี  สุคนธรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กล่าวว่า  Sydney Fish Market เป็นตลาดค้าส่งสินค้าอาหารทะเลสำคัญที่สุดของนครซิดนีย์  รัฐนิวเซาท์เวลส์ ประเทศออสเตรเลีย ตลาดดังกล่าวเป็นสถานที่จำหน่ายสินค้าทะเลที่มีความหลากหลายแหล่งใหญ่เป็นอันดับสองรองจากญี่ปุ่นซึ่งได้มาตรฐาน มีความสะอาด ปลอดภัยและถูกสุขอนามัย มีการบริหารจัดการซื้อขายสินค้าโดยใช้ระบบประมูลซึ่งทำให้เกิดความรวดเร็ว โปร่งใส ได้ราคาที่เหมาะสมทั้งผู้ขายและผู้ซื้อ การประมูลแต่ละครั้งใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง มีปริมาณการประมูลมากกว่า 65 ตัน/วัน หรือกว่า 13,000 ตัน/ปี ในจำนวนนี้มีสินค้ากุ้งที่นำเข้าจากประเทศไทยบางส่วนถูกประมูลผ่านตลาดแห่งนี้ด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมงาน Thai Food Festival ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยสถานกงสุลใหญ่ซิดนีย์และสมาคมร้านอาหารไทย เพื่อประชาสัมพันธ์อาหารไทยและร้านอาหารไทย สำหรับปีนี้ใช้ชื่องานว่า “Thai Food Festival: Thai Prawn Showcase 2008” เนื่องจากเน้นเรื่องของการประชาสัมพันธ์กุ้งไทยโดยใช้กุ้งเป็นวัตถุดิบหลักในเมนูอาหารไทย พร้อมทั้งนำเสนอข้อเท็จจริงเกี่ยว กับการเลี้ยงกุ้ง และกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์กุ้งของไทยให้ออสเตรเลียทราบว่ามีระบบการผลิตที่ถูกต้องตามสุขอนามัยและได้มาตรฐานระดับสากล ขณะเดียวกันยังแสดงให้เห็นศักยภาพการผลิต การแปรรูป และกระบวนการตรวจสอบสินค้าก่อนส่งออก เพื่อให้สื่อมวลชนของออสเตรเลียเกิดความเชื่อมั่นในสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ของกุ้งไทยด้วย   อนาคตคาดว่าจะสามารถช่วยผลักดันการส่งออกสินค้ากุ้งไทยไปยังออสเตรเลียได้เพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังจะทำให้อาหารไทยและ ร้านอาหารไทยในออสเตรเลียเป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้มีการนำเข้าวัตถุดิบสินค้าเกษตรและอาหารจากไทยมากขึ้นด้วย เป็นผลให้ราคาพืชผลทางการเกษตรในประเทศขยับตัวสูงขึ้น และช่วยลดปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ทั้งนี้ ปีที่ผ่านมาไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้ากุ้งและผลิตภัณฑ์ไปออสเตรเลีย ประมาณ 1,600 ล้านบาท และตั้งแต่เดือนมกราคม-ตุลาคม 2551 ส่งออกแล้วประมาณ 5,225 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,260  ล้านบาท และจากการที่กระทรวงเกษตรฯได้หารือกับสมาคมและผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารไทยในนครซิดนีย์ได้ผลสรุปว่าผู้ประกอบการต้องการให้กระทรวงเกษตรฯ ช่วยเจรจาเปิดตลาดสินค้าเกษตรชนิดใหม่ ๆ เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน โดยเฉพาะข้าวกล้อง ซึ่งปัจจุบันออสเตรเลียยังไม่อนุญาตให้นำเข้า ทั้งนี้ มกอช. ได้ประกาศใช้มาตรฐานสินค้าหน่อไม้ฝรั่งและมาตรฐานสินค้าข้าวโพดฝักอ่อนไปแล้ว และจะดำเนินการส่งเสริมมาตรฐานดังกล่าวเพื่อให้เกษตรกรนำไปพัฒนาการผลิตหน่อไม้ฝรั่งและข้าวโพดฝักอ่อนให้ได้คุณภาพมาตรฐาน และสามารถส่งออกไปยังออสเตรเลียได้ อันจะส่งผลให้สามารถขยาย ช่องทางการตลาดสินค้าเกษตรไทยได้เพิ่มมากขึ้น
V
V
V

แหล่งที่มา : http://news.212cafe.com/news51555.html
*******************************

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

เครื่องแต่งกายประเทศออสเตรเลีย^^


เครื่องแต่งกายประเทศออสเตรเลีย
ในช่วงฤดูร้อน ท่านควรสวมเสื้อผ้าบางๆ หรือเสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ หรือหากท่านพักแถบตอนใต้ ท่านอาจสวมเสื้อสเวทเตอร์ได้ในช่วงเย็น สำหรับฤดูหนาวนั้นเสื้อผ้าหนา ๆ เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งแถบตอนใต้ของประเทศ ที่ออสเตรเลียท่านสามารถหาซื้อเสื้อผ้าสำหรับฤดูหนาวได้โดยง่าย นักศึกษาสามารถแต่งกายได้ตามสบาย
__________________________________________________
แหล่งที่มา : www.kullawat.net/14.ppt

วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ความแตกต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศ กับ การตลาดระหว่างประเทศ^^

การค้าระหว่างประเทศ
ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การแลกเปลี่ยนสินค้า และการบริการระหว่างประเทศ ประเทศใดที่จะพยายามผลิตสินค้าและบริการทุกประเภทโดยไม่มีการนำเข้าหรือส่งออก ประเทศนั้นจะพัฒนาได้ช้า และมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะต่ำ ถ้าพิจารณาในแง่ของบุคคลจะช่วยให้เข้าใจง่ายขึ้น กล่าวคือ ถ้าบุคคลพยายามปลูกข้าว ปลูกผัก ปลูกผลไม้ เลี้ยงสัตว์ไว้บริโภคเอง ฟอกหนังสัตว์และเย็บรองเท้าไว้ใช้เอง ปลูกฝ้าย ทอผ้า  เย็บเสื้อผ้าเอง มาตรฐานการครองชีพของประชาชนนั้นจะต่ำมาก เพราะแต่ละประเทศมีทรัพยากร ความชำนาญแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นระดับบุคคลหรือประเทศ การดำเนินนโยบายช่วยตนเองอย่างสมบูรณ์จึงเป็นไปได้ยากในทาง
ปัจจุบันนี้ประเทศต่างๆ ทั่วโลก จำเป็นต้องติดต่อพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ประเทศใดที่พยายามจะอยู่อย่างโดดเดี่ยวไม่ติดต่อค้าขายกับต่างประเทศดำเนินนโยบายปิด จะพบว่าการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศนั้นจะเชื่องช้าและมาตรฐานการครองชีพของประชาชนจะอยู่ในระดับต่ำประชาชนต้องบริโภคสินค้าและบริการที่ผลิตได้ในประเทศเท่านั้น ไม่มีโอกาสที่จะบริโภคสินค้าและบริการที่จำเป็นในการครองชีพ

สาเหตุที่สำคัญที่ทำให้เกิดการค้าระหว่างประเทศ
1. ปริมาณและชนิดของปัจจัยการผลิต การค้าระหว่างประเทศ เกิดขึ้นเนื่องจากประเทศต่างๆ มีปัจจัยหรือทรัพยากรการผลิตในปริมาณไม่เท่ากัน หรือไม่เหมือนกัน ปัจจัยการผลิตใด ถ้ามีมากจะมีผลทำให้ราคาปัจจัยนั้นต่ำและจะส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตและราคาสินค้าต่ำลงไปด้วย
2. ความเหมาะสมของปัจจัยการผลิต ปัจจัยการผลิตมิได้มีคุณสมบัติเหมือนกันทั้งหมด เช่น ประเทศที่มีแรงงานมาก มิได้หมายความว่า จะต้องสามารถผลิตและส่งออกสินค้าทุกชนิดที่เน้นแรงงาน สินค้าบางชนิดต้องการแรงงานที่มีประสิทธิภาพ หรือความชำนาญเป็นพิเศษ
3. ปริมาณการผลิต การผลิตในปริมาณมาก จะมีผลทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง แต่การผลิตในปริมาณมาก ๆ นั้น จะต้องมีตลาดรองรับผลผลิต ตลาดภายในประเทศ อาจจะมีขนาดไม่ใหญ่พอที่จะรองรับผลผลิตทั้งหมดได้ จึงต้องมีตลาดต่างประเทศไว้รองรับผลผลิตส่วนเกิน
4. ต้นทุนการขนส่ง ค่าขนส่งวัตถุดิบ และค่าขนส่งสินค้าสำเร็จรูป เป็นต้นทุนส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของสินค้า ดังนั้นความแตกต่างในต้นทุนการขนส่งจะก่อให้เกิดความแตกต่างในราคาสินค้าเปรียบเทียบ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งการค้าระหว่างประเทศ

ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบเปิดมีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างกว้างขวางภายใต้ระบบเศรษฐกิจเปิดการค้าระหว่างประเทศ จะก่อให้เกิดผลดีต่อระบบเศรษฐกิจหลายประการ ดังนี้
1. การแบ่งงานกันทำ (Division of Labor) เมื่อมีการติดต่อค้าขายระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่ตนถนัด เช่น ไทย เลือกผลิตข้าว มันสำปะหลัง สิ่งทอ ญี่ปุ่น จะเลือกผลิตเครื่องยนต์ อุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นต้น
2. ความชำนาญเป็นพิเศษ (Specialization) การผลิตสินค้าที่ถนัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานๆ จะก่อให้เกิดความชำนาญ
3. ประสิทธิภาพ (Productivity) การผลิตสินค้าด้วยความชำนาญทำให้สินค้ามีคุณภาพสูง
4. ปัจจัยการผลิตเอื้ออำนวย (Factors Endowment) แต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่สามารถใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ในประเทศอย่างเหมาะสม
V


การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing)
ความหมายการตลาดระหว่างประเทศ
การตลาดระหว่างประเทศ (International Marketing) ได้มีผู้ให้คำจำกัดความเกี่ยวกับการตลาดระหว่างประเทศในหลายๆ คำจำกัดความดังต่อไปนี้
                สมาคมการตลาดแห่งสหรัฐอเมริกา (American Marketing Association: AMA) ได้ให้คำจำกัดความของการตลาดต่างประเทศ (International Marketing) ไว้ว่า การตลาดระหว่างประเทศเป็นกระบวนการวางแผน กระบวนการจัดแนวความคิด การตั้งราคา การจัดช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมทางการตลาดเพื่อให้สินค้าและบริการสามารถตอบสนองความต้องการของบุคคลหรือองค์กรที่อยู่ในนานาประเทศ (Multinational)
                นอกจากนี้ยังมีผู้ให้ความหมายของการตลาดระหว่างประเทศว่า การตลาดระหว่างประเทศคือ ความสามารถในการผสมผสานกิจกรรมทางการตลาดกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพและสามารถเข้ากับสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในตลาดระดับโลกได้อย่างกลมกลืน มีประสิทธิภาพและสามารถสร้างความได้เปรียบทางการตลาด
               ดังนั้น การตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
                การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไป ที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช้ส่วนประสมทางการตลาด (Product, Price, Place and Promotion) ซึ่งกลยุทธ์เหล่านี้อาจจะไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศ บางตลาดเลยก็เป็นได้ เนื่องจากตลาดภายในประเทศกับตลาดระหว่างประเทศจะมีความแตกต่างของปัจจัยต่างๆ อยู่เป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่นักการตลาดระหว่างประเทศต้องระลึกถึงเสมอก็คือ วิธีที่จะสร้างความสำเร็จทางการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศรวมถึงตลาดระหว่างประเทศนั้น นักการตลาดต้องค้นหาวิธีที่จะทำให้ธุรกิจสามารถสร้างความพึงพอใจให้ตลาดหรือธุรกิจต้องค้นหาวิธีที่จะสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ธุรกิจจึงจะพบกับความสำเร็จทางการตลาด
V
แหล่งที่มา : http://www.ba.ru.ac.th/

ความแตกต่างระหว่างการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ
                จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นได้ว่า การค้าระหว่างประเทศนั้นเป็นการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างประเทศใดประเทศหนึ่งกับอีกประเทศหนึ่ง ซึ่งผู้ซื้อและผู้ขายจะอยู่ห่างไกลกัน ดังนั้น การติดต่ออาจไม่สะดวกเหมือนกับผู้ซื้อและผู้ขายอยู่ในประเทศเดียวกัน ส่วนการตลาดระหว่างประเทศนั้น เป็นการค้าขายเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและมีการนำเสนอในรูปของสินค้าและบริการ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหารขยายตลาดใหม่ ในตลาดต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อให้ยอดขายมีมูลค่าสูงขึ้น แต่ถึงอย่างไรเราก็ควรที่จะหากลยุทธ์ใหม่ๆ สามารถตอบสนองความพึงพอใจได้ เพื่อส่งผลให้ได้กำไรสูงสุด
                อย่างไรก็ตามการค้าระหว่างประเทศกับการตลาดระหว่างประเทศ ยังมีประโยชน์ร่วมกันคือ เป็นการสร้างสัมพันธ์ภาพที่ดีระหว่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเริ่มต้นของการสร้างสัมพันธ์ทางการค้าและการตลาดที่ดีได้ 


วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

บทบาทการขาย^^

             **บทบาทของการขายจากการวิเคราะห์คำจำกัดความ และความหมายของการขายข้างต้นพอจะสรุปได้ดังนี้



เป็นการให้บริการ แนะนำสินค้า เพื่อชักจูงลูกค้าให้เกิดความสนใจในตัวสินค้า
ซึ่งเป็นการสื่อสารสองทาง ให้เกิดการแลกเปลี่ยน
  
               1. การขายเป็นการให้บริการ โดยทั่วไปแล้วผู้บริโภคทุกคนมีความต้องการขั้นพื้นฐานคล้ายคลึงกัน ดังนั้นสิ่งที่พนักงานขายจะต้องทำก็คือการค้นให้พบว่าผู้มุ่งหวังมีความจำเป็น มีความต้องการอย่างไรแล้วพิจารณาตัดสินใจสนองตอบความจำเป็น หรือความต้องการนั้น ด้วยสินค้าหรือบริการที่ตรงกัน เพื่อให้ผู้มุ่งหวังได้รับความพึงพอใจจากการบริโภคอย่างแท้จริง

               2. การขายเป็นการชักจูงใจ นักขายมืออาชีพต่างยอมรับว่า เขาไม่อาจบังคับให้คนซื้อสินค้าได้แต่การขายที่ประสบความสำเร็จอยู่ที่ความสามารถในการกระตุ้นชักจูงโน้มน้าวผู้มุ่งหวังให้เกิดความต้องการในสินค้า ด้วยการเสนอคุณค่าในตัวสินค้า หรือบริการกับผู้มุ่งหวังให้เขามีส่วนร่วมในกระบวนการขายดำเนินลำดับขั้นของการตัดสินใจซื้อ แล้วให้โอกาสผู้มุ่งหวังตัดสินใจเลือกอย่างเสรี


             3. การขายเป็นการแลกเปลี่ยน เป็นหลักธรรมดาเมื่อมีการขายเกิดขึ้น นั่นย่อมหมายถึงมีการซื้อเกิดขึ้นเช่นกัน การซื้อ การขาย เป็นกิจกรรมต่างตอบแทนระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายซึ่งมีการแลกเปลี่ยนกัน โดยฝ่ายผู้ซื้อได้รับความพึงพอใจจากสินค้าหรือบริการที่ตนใช้เงินแลกมา ส่วนฝ่ายผู้ขายก็ได้รับเงินมาเป็นสิ่งแลกเปลี่ยนกับสินค้าหรือบริการ ณ ระดับราคาที่ตกลงซื้อขายกันการซื้อขายแลกเปลี่ยนในปัจจุบันเป็นกิจกรรมที่กระทำกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก
            
              4. การขายเป็นการติดต่อสื่อสาร การขายเป็นการสื่อความอย่างหนึ่ง นั่นคือ ส่วนสำคัญที่สุดก็คือ ตัวพนักงานขาย ซึ่งจะเป็นแหล่งของการสื่อความ และที่ซึ่งจะมีการแปลงความหมายเพื่อเสนอหรือแสดงให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในขณะนั้น ทั้งนี้โดยจะใช้วิธีการส่งข่าวสาร ข้อมูลไปยังผู้ที่จะซื้อสินค้าด้วยการใช้คำพูด หรือการบอกกล่าวออกไป ซึ่งในทางปฏิบัติพนักงานขายจะมีการใช้เครื่องช่วยต่างๆ เช่น แผ่นปลิว ภาพโฆษณาสินค้า หรือนำผลิตภัณฑ์ไปแสดงให้เห็น ทั้งนี้รวมถึงการแสดงออกของพนักงานขายในลักษณะท่าทางต่างๆ ด้วย
    
        การติดต่อสื่อสารเป็นกระบวนการ 2 ทาง (Two-way Communication) พนักงานขายต้องมีประสิทธิภาพทั้งทางส่ง และรับข่าวสาร ต้องเป็นผู้ฟังคำถาม ข้อสงสัย คำตำหนิของผู้มุ่งหวังได้เข้าใจเพื่อตอบให้ผู้มุ่งหวังได้รับความพึงพอใจสูงสุด นอกจากนี้พนักงานขายต้องเป็นผู้เชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทกับตลาด (ลูกค้า) กล่าวคือ เมื่ออยู่ในตลาดพนักงานขายก็เปรียบเสมือนตัวแทนของบริษัทและเมื่อกลับมายังบริษัทพนักงานขายก็ต้องทำหน้าที่เป็นตัวแทนของลูกค้า เพื่อว่าบริษัทจะได้รับทราบความต้องการที่แท้จริงของตลาด

             5. การขายเป็นการแก้ปัญหา ปัญหาของผู้ซื้อในการเลือกซื้อสินค้า หรือบริการมีอยู่ตลอดเวลาเช่น จะซื้อสินค้าใด ซื้อที่ไหน ณ ระดับราคาใด ฯลฯ หน้าที่ของพนักงานขาย คือ การตั้งข้อสังเกต วิเคราะห์ลูกค้าให้ถูกต้อง เมื่อทราบปัญหาที่แท้จริงของลูกค้าแล้ว พนักงานขายต้องเสนอแนะสินค้าให้ลูกค้าได้อย่างเหมาะสม ช่วยขจัดปัญหาที่มีอยู่ก่อนตัดสินใจซื้อของลูกค้าให้หมดไป ดังนั้นงานของพนักงานขายก็คือ การช่วยลูกค้าแก้ปัญหา ต้องอธิบายได้ว่าสินค้าที่กำลังเสนอขายนั้นสามารถแก้ปัญหาให้ลูกค้าได้อย่างไร

           6. การขายเป็นการให้ความรู้ สินค้าหลายชนิดในท้องตลาดมีเทคนิค และความซับซ้อนยุ่งยากเกินกว่าที่ลูกค้าทั่วๆ ไปจะเข้าใจ หรือทราบถึงวิธีการใช้ ดังนั้นเขาจึงต้องการคนที่มีความรู้เกี่ยวกับสินค้าช่วยอธิบาย สาธิต เปรียบเทียบให้ความกระจ่างเพื่อให้ลูกค้าเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในเรื่องสินค้า ถ้าพนักงานขายได้ใช้เวลานับชั่วโมงในการอธิบาย แสดงถึงประโยชน์ของสินค้า ถึงแม้ลูกค้าจะไม่ตัดสินใจซื้อ แต่ถือว่าได้ทำการขายแล้วเพราะทำให้ลูกค้าได้รับความรู้เกี่ยวกับสินค้าอย่างสมบูรณ์แล้วการขายจึงเป็นการให้ความรู้ ซึ่งไม่จำเป็นว่าทุกครั้งที่พนักงานขายได้อธิบายให้ความรู้เกี่ยวกับสินค้าแก่ลูกค้าจะต้องซื้อเสมอไป
             **การขาย เป็นกระบวนการตัดสินความจำเป็น หรือความต้องการของผู้มุ่งหวัง (Prospects) และดำเนินการตอบสนองด้วยสินค้า หรือบริการโดยใช้หลักจูงใจให้เขาตัดสินใจด้วยความพึงพอใจของตนเอง




แหล่งที่มา : http://mathayom.brr.ac.th/~alluser/anong/learn1.htm